ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของการรักษาโรคด้วยพลังสมาธินั้นมีเอ่ยถึงมานานมากกว่าสมัยรุ่งเรืองของอิยิปต์
มีหลักฐานต่างๆ ที่ชี้ถึงวิธีการรักษาโรคของพวกหมอสมัยนั้นเช่นในคัมภีร์ปาปิรุสอีเบอร์ส
อันเป็นตำราแพทย์ที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุดของอิยิปต์ได้เอ่ยถึงการรักษาโรคด้วยพลังสมาธิโดยมีการใช้อัญมณีบางอย่างเป็นสื่อพลังในการรักษา
ชาวจีนโบราณเชื่อว่าร่างกายของเราเป็นแหล่งรวมพลังอันมหาศาล ขณะที่ชาวฮินดูเรียกพลังนี้ว่าปราน
มีการค้นคว้าศึกษาเรื่องพลังเร้นลับในตัวมนุษย์มาเรื่อยจนในที่สุดก็มีคำศัพท์เรียกพลังเร้นลับที่มีในตัวมนุษย์นี้ว่า
"พลังจิต" (Mind Power)
มีการทดลองอย่างหนึ่งที่รัสเซียในปีพุทธศักราช
2499 โดย ดร. เอส ซีรอฟ และ เอ.โทรสกิน ที่ระบุชัดว่าพลังจิตมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มหรือลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวอันเป็นระบบภูมิคุ้มกันที่สำคัญภายในร่างกายของมนุษย์
โดยหากเพิ่มอารมณ์ทางบวกแก่ผู้ป่วยเม็ดเลือดขาวจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น
และหากทำให้อารมณ์ผู้ป่วยเป็นลบเม็ดเลือดขาวจะมีจำนวนลดลง ที่กล่าวมาเบื้องต้นนี้อาจสอดคล้องกับการค้นพบที่ว่าร่างกายของคนเราจะหลั่งสารอย่างหนึ่งออกมาเมื่อได้ออกกำลังกายอย่างเต็มที่
และหลังจากการนั่งสมาธิเพื่อทำจิตใจให้สงบ คือ 'สารแอนโดฟีล'
หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า 'สารสุข'
สารแอนโดฟีลนี้เมื่อร่างกายได้หลั่งออกมาจะมีผลทำให้เกิดความชุ่มชื่นแก่ร่างกาย
และทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงขึ้นได้ ดังที่ได้กล่าวถึงไว้ในบทของธรรมชาติบำบัดที่ว่าเมื่อคนเราเกิดความเครียดสมองจะหลั่งสารบางอย่างออกมาซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดเม็ดเลือดขาวเพิ่มอย่างมากมายในร่างกาย
การเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดขาวในร่างกายนี้เองทำให้ผู้ที่มีความเครียดเกิดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือดสูง
ในทางตรงกันข้ามผู้ที่นั่งสมาธิจิตใจสงบปลอดโปร่งปราศจากความเครียด
นอกจากร่างกายจะหลั่งสารเอนโดฟีลออกมาเพื่อเพิ่มความแข็งแรงแล้วยังสามารถลดปริมาณเม็ดเลือดขาวที่มีมากเกินปกติในร่างกายได้อีกด้วย
มีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งหลายรายซึ่งบางรายก็มีอาการร้ายแรงอยู่ในระยะสุดท้ายไม่สามารถรักษาให้หายได้
แต่กลับหายขาดจากการเป็นโรคมะเร็งได้ด้วย การฝึกสมาธิ ตัวอย่างเช่น
คนไข้ชายรายหนึ่งซึ่งป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดในระยะสุดท้าย สาเหตุที่ป่วยก็เนื่องมาจากการสูบบุหรี่อย่างหนักต่อวันไม่ต่ำกว่า
1 ซอง คนไข้ชายผู้นี้เมื่อได้รู้ตัวว่าตนป่วยเป็นโรคมะเร็งในระยะสุดท้าย
ทีแรกก็มีความคิดที่จะฆ่าตัวตายแต่ทำไม่สำเร็จ จึงมีผู้ชักนำให้เข้าวัดทำบุญฟังเทศน์ฟังธรรมเพื่อสร้างกุศลไว้ก่อนที่ตนจะตายไป
นานเข้าคนไข้รายนี้ก็เกิดความเลื่อมใสในพระศาสนา จึงอุทิศเวลาที่เหลืออีกไม่มากนักของตนเพื่อการปฏิบัติธรรมโดยการบวชเป็นพระภิกษุและออกธุดงไปในป่า
นั่งสมาธิปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด เวลาที่เหลืออยู่อีกไม่กี่เดือนก็ดูเหมือนจะยาวนานขึ้นจนผ่านมาถึงสามปีเต็ม
พระภิกษุรูปนั้นจึงเดินทางออกจากป่าและมาตรวจรักษาอีกครั้งหนึ่ง ผลปรากฏว่าโรคมะเร็งที่ได้เป็นอยู่กลับหายไปจนหมดสิ้น
ปัจจุบันคนไข้รายนี้ก็ยังคงบวชเป็นพระภิกษุและออกธุดงค์อยู่เรื่อยๆ
โรคทุกโรคที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง
ผู้ที่เป็นจะหายได้หรือไม่นั้นอาจจะเรียกได้ว่าขึ้นอยู่กับกำลังใจ
เมื่อเกิดโรคขึ้นผู้ป่วยทุกคนมักเกิดความรู้สึกกังวลใจ กลัวโรค กลัวที่จะตาย
จึงเปิดโอกาสให้โรคร้ายเข้ามาคุกคามเล่นงานได้ง่าย เพราะ กายกับใจ
(Body and Mind) นั้น มีความสัมพันธ์กัน หากผู้ใดมีกำลังใจยอมรับในโรคร้าย
และพร้อมที่จะสู้กับมันแล้วคงมิมีโรคใดเล่นงานเราได้อย่างแน่นอน การฝึกปฏิบัติสมาธิก็นับว่าเป็นอีกวิถีทางหนึ่งที่ทำให้ผู้ซึ่งกำลังตื่นกลัวอยู่กับโรคร้ายนี้
สามารถที่จะทำใจเตรียมเผชิญหน้ากับมันได้อย่างไม่เกรงกลัว ทางพระพุทธศาสนา
กล่าวถึงสมาธิไว้ว่า
เป็นการฝึกปฏิบัติให้มีสติอยู่กับตัวเสมอซึ่งก่อให้เกิดความสงบทางจิตใจ
ไม่ฟุ้งซ่าน ตั้งมั่นจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์เพียงหนึ่งเดียว อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับจิตใจเพื่อรวบรวมสมาธิให้มีสติยั้งคิดยั้งทำในการกระทำต่างๆ
ของแต่ละบุคคล ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติสมาธิขั้นพื้นฐานนั้น
มิเพียงแต่จะทำให้ร่างกายของผู้ปฏิบัติสมาธิแข็งแรงสามารถต่อสู้กับโรคร้ายได้เท่านั้นยังส่งผลดีต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก
อาทิ
1. ประโยชน์ของสมาธิในการเล่นกีฬา ปัจจุบันได้มีประเทศต่างๆได้จัดเวลาให้นักกีฬา
ฝึกสมาธิควบคู่กับการฝึกซ้อมให้ร่างกายแข็งแรง และยังเพิ่มความสามารถในเชิงกีฬาอีกด้วย
2. ประโยชน์ของสมาธิในการพัฒนาจิตใจ การฝึกสมาธิย่อมส่งความสงบสุขไปสู่จิตใจช่วยให้เกิดความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
3. ประโยชน์ของสมาธิในการประกอบการงานและการดำรงชีวิต ช่วยก่อให้เกิดแนวทางการตัดสินใจที่ดี
อันจะนำไปสู่วิถีชีวิตที่ดีขึ้นได้
|